กีฬาปิงปอง นอกจากการฝึกฝนที่ถือว่าเป็นเรื่องยาก มีสิ่งที่ต้องฝึกมากมายแล้ว ในด้านการจัดการแข่งขันก็ถือเป็นเรื่องยากและมีรายละเอียดจุกจิ๊กเยอะแยะเช่นกัน (หากเราต้องการความมาตรฐานในด้านต่างๆ ) แต่หากไม่มีการจัดการแข่งขันขึ้น นักกีฬาที่เราฝึกก็จะไม่มีประสบการณ์ในการแข่งขัน ทำให้ผู้ฝึกสอนไม่ทราบต่อไปว่านักกีฬาของเรามีจุดเด่น จุดอ่อนอะไรบ้างที่จะต้องนำกลับมาพัฒนาฝีมือต่อไป ซึ่งข้อบกพร่องต่างๆ ของนักกีฬาที่เราฝึกอยู่นี้ก็จะปรากฏออกมาให้เห็นเมื่อนักกีฬาเราลงทำการแข่งขันนั่นเอง
ดังนั้นบทความนี้จึงขอแชร์ไอเดียการจัดแข่งขันปิงปอง แนวทางพัฒนาฝีมือนักกีฬาในระบบแฟร์เพลย์ (ไม่มีกรรมการนับแต้ม) ครับ เพื่อจะช่วยให้เราสร้างกิจกรรมด้านการแข่งขันโดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาฝีมือนักกีฬาของเราเตรียมไว้เพื่อไปแข่งขันรายการใหญ่ต่อไป
ข้อแนะนำมีดังนี้
1. ใช้โต๊ะในการแข่ง 3 ตัว
2. แข่งขันแบบพบกันหมด รอบละ 6 คน
3. 1 รอบ ใช้เวลาแข่งขันประมาณ 1.30 ชั่วโมง
4. แข่งขันรู้ผลแพ้ชนะ 2 ใน 3
5. ผู้ที่ชนะในแต่ละคู่ เป็นผู้เดินมาแจ้งผลการแข่งขันให้กับฝ่ายจัด
6. รอกรรมการเรียกลงสนามในคู่ต่อไปทันที
ข้อดี
1. นักกีฬาไม่ต้องรอลงแข่งขันนาน (ยกเว้นนักกีฬาที่เข้ารอบ)
2. นักกีฬาลงแข่งขันได้ต่อเนื่อง รู้ผลการเข้ารอบฯ ภายในรอบนั้นๆ
3. เลือกสมัครลงแข่งขันได้ในช่วงที่ตนเองว่างมาแข่งขัน
4. การสมัครสามารถรับสมัครเป็นรอบๆ เช่น รอบ 9.00 - 10.30 , รอบ 10.30 -12.00 น. , รอบ 12.00 - 13.30 น. , รอบ 13.30 - 15.00 น. , รอบ 15.00 - 16.30 น. , รอบ 16.30 - 18.00 น. ฯลฯ
5. จำนวนผู้สมัครในข้อ 4 นี้ จะได้นักกีฬาทั้งสิ้น 36 คน แต่หากเพิ่มโต๊ะแข่งเป็น 6 โต๊ะ ก็จะได้นักกีฬาทั้งสิ้น 72 คน
6. การเดินทางมาแข่ง ก็เดินทางมาถึงก่อนเวลาในรอบที่ตนเองสมัครแข่งไว้ เหมือนการไปชมภาพยนต์
7. ฝึกนักกีฬาในเรื่องของการนับคะแนน รวมถึงเมื่อมีลูก NET ลูก GOOD ก็หรือ LET เพราะลูกปิงปองลอยมาจากโต๊ะอื่นๆ ก็ตกลงกันเองแบบแฟร์เพลย์ครับ
8. ประหยัดค่าใช้จ่ายค่ากรรมการ นำมาเป็นรางวัลให้กับนักกีฬาแทน
9. ใช้ฝ่ายจัดเพียงแค่ 1 - 2 คนเท่านั้น ( คนหลักคอยลงคะแนน ประกาศเรียกนักกีฬาลงแข่งขัน , คนรองคอยหาข้าวหาน้ำให้คนหลักครับ 😂🤣😅 )
ข้อเสีย
1. ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม เพราะแข่งต่อเนื่อง 2 ใน 3 , 5 ครั้งติดๆ กัน
2. คนเข้ารอบ ก็ต้องรอแข่งในช่วงค่ำ หรือ วันรุ่งขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของกีฬาประเภทนี้
หมายเหตุ การแข่งขันในรอบต่อๆ ไป จะจัดรูปแบบใดก็ลองดูได้ครับ ถ้าจะให้จบภายในวันนั้น ก็แพ้คัดออก 3 ใน 5 หรือ มีเวลาจัดต่อในวันรุ่งขึ้น ก็พบกันหมดต่อก็ได้ ขึ้นอยู่ความมันส์ ความสนุกของนักกีฬา และผู้จัด เพราะเราจัดเพื่อพัฒนาฝีมือให้กับนักกีฬากันครับ
ทดลองนำไปประยุกต์ใช้ดูนะครับ ไม่จำเป็นต้องเหมือนไอเดียนี้ทุกประการ สามารถนำไปประยุกษ์ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมของแต่ละชมรมฯ หรือหน่วยงานของท่านดูนะครับ
สำหรับโปรแกรมจับฉลากแข่งขันแบบพบกันหมด เพื่อนำไปใช้ช่วยในการจัดคู่และลงคะแนนสามารถดาวโหลดได้ที่นี่ครับ คลิ๊ก